คำตอบของคำถามนี้ขึ้นกับเหตุผลที่คุณได้รับการตัดมดลูก
- หากคุณเคยตัดมดลูกเนื่องจากเป็นการรักษามะเร็งปากมดลูก คุณควรจะตรวจ Pap tests อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่ามะเร็งจะไม่กลับเป็นซ้ำ
- หากคุณเคยตัดมดลูกเนื่องจากเป็นการรักษาภาวะก่อนมะเร็งของปากมดลูก คุณควรจะตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2-3 ปีหลังผ่าตัด
- หากคุณเคยตัดมดลูกแต่ปากมดลูกไม่ได้ตัดออกไปด้วย(เรียกว่า subtotal หรือ supracervical hysterectomy) คุณควรจะตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจนอายุ 70 ปี เนื่องจากปากมดลูกไม่ได้ถูกผ่าตัดออกไปด้วย ดังนั้นจึงยังคงมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก
- หากคุณเคยผ่าตัดมดลูก (ตัดออกหมดทั้งมดลูกรวมถึงปากมดลูกด้วย) ด้วยเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช้มะเร็งหรือภาวะก่อนมะเร็ง คุณอาจไม่จำเป็นต้องทำ Pap หรือ HPV test อีก ควรจะตรวจสอบกับแพทย์ก่อนเนื่องจากในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องตรวจติดตามต่อไป
- หากคุณเคยผ่าตัดมดลูกและมีโรคที่ผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (เช่น HIV) หรือกำลังรักษาโดยการรับยากดภูมิคุ้มกัน(เช่น ในรายที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนไต) คุณอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อ HPV ได้ ดังนั้นจึงควรมารับการตรวจทุกปี ผู้หญิงหลายคนไม่ทราบเหตุผลที่ต้องผ่าตัดมดลูกหรือรูปแบบของการผ่าตัดมดลูก หากไปพบแพทย์คนใหม่หลังจากผ่าตัด ควรจะนำประวัติการรักษาจากที่เก่าไปด้วย แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าการผ่าตัดเป็นรูปแบบใดและคุณยังจำเป็นต้องตรวจ Pap tests ต่อไปอีกหรือไม่ คุณควรจะพูดคุยถึงสถานภาพและปัจจัยเสี่ยงของคุณในการติดเชื้อ HPV กับแพทย์ ไม่ว่าคุณตัดสินใจเกี่ยวกับการตรวจ Pap และ HPV อย่างไร ก็ควรจะไปรับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
หากว่าคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณควรจะรักษาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ : สูตินรีแพทย์โรคมะเร็ง, แพทย์รังสีรักษา, อายุรแพทย์โรคมะเร็ง แพทย์โรคมะเร็งเป็นแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนในด้านการวินิจฉัยและรักษามะเร็งโดยเฉพาะ หากคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวการณ์เปลี่ยนแปลงก่อนมะเร็ง ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องพบแพทย์โรคมะเร็งโดยตรง ขึ้นกับระดับของการเปลี่ยนแปลงที่พบ สูตินรีแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป อาจจะเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและให้การรักษาได้
ได้มะเร็งปากมดลูกรักษาได้โดยการผ่าตัด ฉายแสง และ/หรือให้ยาเคมีบำบัด หากคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก ควรพูดถึงทางเลือกในการรักษากับแพทย์เพื่อตัดสินใจถึงแนวทางในการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด
มะเร็งปากมดลูก หรือระยะก่อนมะเร็งปากมดลูก มักจะไม่มีอาการผิดปกติ นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ควรจะตรวจ Pap tests ประจำทุกปี หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
แต่ถึงจะมีอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกราย อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ควรจะพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของคุณ การตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มหมายถึงโอกาสที่ดีกว่าในการประสบความสำเร็จในการรักษา
ผู้ให้บริการทางสุขภาพมักจะใช้ Pap test เพื่อหาว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปากมดลูกหรือไม่ การทำ Pap test มักจะป้ายเอาตัวอย่างจากปากมดลูก เพื่อหาเซลล์ผิดปกติ การทำ Pap test เป็นวิธีที่ดีในการหาเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่อาจจะก่อมะเร็งในอนาคต การทำ Pap test จะทำในร่วมกับการตรวจภายในปกติประจำปี
HPV test จะเป็นการตรวจเพื่อหาไวรัส กลุ่มเสี่ยงโดยตรง ทั้ง Pap และ HPV test จะใช้แปรงนุ่มเล็กๆ ป้ายเซลล์เยื่อบุปากมดลูก เซลล์ที่ได้จะถูกส่งไปที่ห้องทดลองเพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ว่าผลการตรวจของทั้งสองอย่างหรือการทำ Pap test อย่างเดียวคุณไม่ควรจะพบความแตกต่างในการตรวจ
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (หรือที่เรียกว่า Human Papillomavirus หรือ HPV วัคซีน) จะป้องกันไวรัสที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงเกือบ 10,000 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกา ทั่วโลกแล้วมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สาเหตุ การตายที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง วัคซีนมะเร็งปากมดลูกสามารถปกป้องชีวิตและป้องกันความกลัวและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก และผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก(Pap tests) ที่ผิดปกติ
HPV เป็นไวรัสตระกูลหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญมะเร็งปากมดลูกและปัญหาอื่นๆเช่น หูดที่อวัยวะเพศ หรือเท้า HPV ยังคงเป็นสาเหตุของมะเร็งที่อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ทวารหนัก, และมะเร็งของศีรษะและคอ ผู้หญิงและผู้ชายจะติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
การตรวจคัดกรองมะเร็งปกมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี หรือภายใน 3 หลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์จะสามารถตรวจพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ก่อนที่มะเร็งจะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันวัคซีนใหม่ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดเป็นที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด 70% ของมะเร็งปากมดลูก แต่หากคุณไม่เคยติดเชื้อ HPV มาก่อนเลย โอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกก็ค่อนข้างต่ำมาก แต่หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อ HPV ได้อย่างแน่นอนคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก็สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้
ตามแนวทางปฏิบัติแล้วคือ
ให้วัคซีน แก่ผู้หญิงอายุ 19-26 ปีควรมีการคุยระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการจะเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน
โดยอุดมคติแล้ว ผู้หญิงควรได้รับวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีน
ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่าเนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้วไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวหรือหลายสายพันธุ์ซึ่งเป็นชนิดที่ครอบคลุมโดยวัคซีน
มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมะเร็งเหล่านี้อาจทำให้ผู้หญิงเสียความสามารถในการมีบุตรและคุกคาม ชีวิตของมารดาที่อายุน้อยได้ คุณอาจไม่ทราบว่ามีใครที่เป็นมะเร็งปากมดลูกบ้าง แต่ในสตรีส่วนใหญ่จะทราบว่ามีใครที่ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ เนื่องจากการติดเชื้อ HPV นั้นพบได้บ่อย จึงมีความเชื่อว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะสามารถค้นหาคนที่เป็นมีปากมดลูกผิดปกติที่ยังสามารถรักษาได้ ปัจจุบัน ผู้หญิงจะมีทางเลือกที่สำคัญเพิ่มขึ้นในการป้องกัน วัคซีนมะเร็งปากมดลูกจะช่วยป้องกันก้าวแรกของการเกิดมะเร็งปากมดลูกนั่นก็คือการติดเชื้อ HPV การฉีดวัคซีนร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ฉีดที่แขนหรือต้นแขน 3 ครั้ง ในวันแรก, 2เดือนและ 4 เดือนหลังจากนั้น โดยภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากให้ยาครบทั้ง 3 เข็ม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเป็นจำต้องฉีดกระตุ้นอีกหรือไม่
ปลอดภัยมีการศึกษาว่าวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัว (คล้ายกับจะเป็นไข้หวัด) ก็พบได้บ่อย อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและมีไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้ แต่ก็คล้ายคลึงกับยาทั่วไปก็คือยังคงต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อไป
ไม่ควรฉีดวัคซีนหากยังมีอาการเจ็บป่วยหรือมีประวัติแพ้ยีสต์หรือตั้งครรภ์อยู่หรืออยู่ในช่วงที่พยายามจะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงของการแท้งบุตรค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ดี คล้ายคลึงกับยาใหม่ทั่วไปก็คือยังไม่ทราบความเสี่ยงที่แน่ชัด คุณควรจะฉีดวัคซีน ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มอายุที่มีการแนะนำให้ฉีด หรือแม้แต่อยู่ในช่วงที่กำลังรักษาผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ หรือเคยมีผล Pap smear ผิดปกติ, หูดที่อวัยวะเพศ หรือเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนในอดีต
บริษัทประกันชีวิตบางแห่งอาจจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายแต่บางแห่งก็ไม่ครอบคลุม บริษัทประกันใหญ่ๆส่วนมากมักจะวางแผนให้ครอบคลุมการฉีดวัคซีนพื้นฐาน อย่างไรก็ดี หลังฉีดวัคซีนอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหลังจากที่วัคซีนนั้นได้ถูกแนะนำให้ฉีดกว่าที่จะมีใช้แพร่หลายและครอบคลุมในการวางแผนสุขภาพ หากคุณต้องตรวจสอบกับบริษัทประกันชีวิตของคุณ ถ้าหากว่าผู้ให้บริการสามารถครอบคลุมการให้วัคซีนพื้นฐานในเด็ก วัคซีนมะเร็งปากมดลูกก็น่าจะครอบคลุมสำหรับเด็กหญิงและผู้หญิงในกลุ่มที่แนะนำ
ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ ณ เวลานี้ได้รับการยอมรับให้ใช้เฉพาะกับเด็กหญิงและผู้หญิงเท่านั้น
มีผลการทดลองทางคลินิกจากหลายแห่งพบว่าวัคซีน HPV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันภาวะเนื้อเยื่อ ที่เจริญเติบโตผิดปกติที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่เคยมีประวัติได้ติดเชื้อไวรัส HPV เรื้อรังมาก่อน เนื่องจากการพัฒนาของเนื่อเยื่อที่ผิดปกติไปเป็นมะเร็งนั้นจะต้องใช้เวลาหลายปี ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่ากว่าจะพบว่าจำนวนการเกิดผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ลดลง อย่างไรก็ดีพบว่ามีการติดเชื้อไวรัส HPV เรื้อรังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อเจริญผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีการลดลงของความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ถ้าใช้ในกลุ่มคนที่ไม่เคยติดเชื้อ HPVมาก่อน ที่สำคัญคือ วัคซีนไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์ของ HPV จะอยู่ได้นานเท่าไรหรือจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร และบ่อยเท่าไร แต่เท่าที่มีข้อมูลล่าสุดในปัจจุบันรายงานถึงระยะเวลาที่วัคซีนจะออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสได้นานอย่างน้อย 3-5 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น ในอนาคตการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนอาจจะให้ข้อมูลมากขึ้นว่าภูมิคุ้มกันของการให้วัคซีนจะลดลงเมื่อไรและจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร
ยังไม่มีคำแนะนำพิเศษเฉพาะสำหรับคนที่ได้รับวัคซีน HPV โดยปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ ข้อมูลในส่วนนี้อาจจะต้องรอความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในอนาคต
ข้อมูลในปัจจุบันคือวัคซีน HPV นั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุ สำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยควรตระหนักว่าวัคซีน HPVนั้น “ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (หูด) เรื้อรัง” แต่ไม่สามารถใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัส HPVในคนที่มีการติดเชื้อมาก่อนแล้วได้
มีในการทดลองทางคลินิก Gardasil มีประสิทธิภาพในกลุ่มผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วอายุ 26 ปีหรือต่ำกว่าและในกลุ่มนี้บางคนอาจเคยติดเชื้อ HPV 1 สายพันธุ์หรือมากกว่าแล้ว Gardasil และ Cervarix จะป้องกัน HPV จำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อ HPV หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-26 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์ เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน โดยทั่วไปศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(CDC)ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่ผู้หญิงอายุ 18-26 ปี
นักวิจัยยังทราบแน่ชัดว่าระดับแอนติบอดี้ควรจะสูงเท่าไรจึงจะป้องกัน HPV 1 ได้ ในการทดลองทางคลินิก นักวิจัยสังเกตว่าระดับแอนติบอดี้ในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละครั้งที่ได้รับวัคซีน เนื่องจากระดับแอนติบอดี้มักจะไม่ลดลงหลังจากหยุดให้วัคซีนก็น่าจะเป็นได้ว่าการเริ่มต้นด้วยแอนบอดี้ระดับสูงจะช่วยป้องกัน HPV ได้ยาวนานขึ้นอาจจะเป็นปีหรือหลายสิบปี และเมื่อเวลาผ่านไป นักวิจัยอาจพบว่า การให้วัคซีนอาจไม่จำเป็น หรือ การให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีกครั้งอาจจะจำเป็น
Gardasil และ Cervarix ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัย อาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ป่วยได้แก่เจ็บบริเวณที่ฉีดยาตรงต้นแขน ไข้ต่ำหรืออาการคล้ายไข้หวัดก็อาจพบได้ บางครั้งอาจมีอาการเวียนศีรษะหรือเป็นลมเกิดขึ้นหลังฉีดยาได้ โดยเฉพาะในวัยรุ่น แต่โดยรวมแล้ว ผลข้างเคียงที่พบมักจะเล็กน้อย การให้ผู้ป่วยนั่งพักหลังฉีดยา 15 นาทีจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นลมได้ อย่างไรก็ดี ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่ได้รับรายงานพบได้ในผู้หญิงจำนวนน้อย รวมถึงการแพ้ยาอย่างรุนแรง, ภาวะทางระบบประสาท อย่างเช่น เป็นอัมพาตครึ่งซีก ,อ่อนแรง, สมองบวม หรืออาจถึงแก่ชีวิต องค์การอาหารและยาได้เฝ้าระวังผลข้างเคียงเหล่านี้ ปัจจุบัน การรายงานถึงผลข้างเคียงเหล่านี้มักมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยมักจะไม่เกิดจากตัววัคซีนเอง
HPV แพร่กระจายผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ HPV โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจำนวนคู่นอน การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่าในการค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นควรตรวจภายในประจำปี และ Pap tests นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์,ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว, มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน, ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV อย่างไรก็ดี เนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของ HPV ได้ทั้งหมด มันจึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ ดังนั้น การใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกัน HPV ได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อ HPV นั้น ควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
ในส่วนใหญ่ ในคนที่ติดเชื้อ HPV มักไม่มีอาการผิดปกติ หนทางเดียวที่จะทราบได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV ก็คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจ Pap smear หรือการนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพิ่มเติมพร้อมกับการทำ Pap smear หนทางเดียวที่จะบอกได้ว่าการติดเชื้อ HPV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งปากมดลูกก็คือการทำ Pap smear สัญญาณของการติดเชื้อ HPV อาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ซึ่งก็คือความสำคัญว่าทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ
มีการทดสอบ HPV สามารถค้นหาไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์มะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ดี การทดสอบนี้ไม่สามารถบอกถึงชนิดของ HPV ไวรัสได้อย่างแน่ชัด ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทั้ง Pap test และ HPV test ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การทดสอบ HPV สามารถช่วยให้เข้าใจผลการตรวจที่ก้ำกึ่งเกี่ยวกับเซลล์ที่ผิดปกติได้ อย่างไรก็ดีถ้าหากการทำ Pap test ไม่แสดงภาวะความผิดปกติก่อนมะเร็งที่แน่ชัด การทดสอบ HPV ก็อาจจะไม่จำเป็น ที่ในที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดมักเกิดจาก HPV
ในปัจจุบัน ไม่มีการรักษาสำหรับไวรัส แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกที่เกิดจาก HPV ถ้าหากผลการตรวจ Pap และ istanbul escort | şişli escort | ümraniye escort | mecidiyeköy escort HPV แสดงว่าเซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง คุณควรจะถามถึงทางเลือกในการรักษากับแพทย์เจ้าของ ไข้ เด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 9-26 ปีสามารถป้องกันตนเองจาก HPV และปากมดลูกที่เปลี่ยนแปลงจาก HPV โดยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก