โรคมะเร็ง |
วิธีการตรวจคัดกรอง |
คำแนะนำ USPSTF |
คำแนะนำของ CTFPHC |
คำแนะนำของ นักวิชาการไทย |
|
1. Papanicolaou smear |
- ควรทำทุก 1 ปี สำหรับ ทุกคนที่มีอายุ 18 ปี หรือ 21 ปี ขึ้นไป ถ้าผลปกติ ทุกปีจึงเริ่มเว้นช่วงห่าง เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป หยุดทำเมื่ออายุ 70 ปี |
- ควรทำทุก 1 ปี ในคนที่มีเพศสัมพันธ์ หรืออายุมากกว่า 18 ปี หลังจากปกติ 2 ครั้งติดต่อกันต่อไป ทำทุก 3 ปี จนถึงอายุ 69 ปี |
- ควรทำทุก 1 ปีในหญิงทุกคนที่ อายุ 35-55 ปี และแนะนำใน หญิงทุกคนที่เคย มีประวัติเคยมี เพศสัมพันธ์แล้ว ถ้าปกติติดต่อกัน 3 ปี ต่อไปทำทุก 3 ปี |
ปากมดลูก |
2. Liquid-based cytology |
- อาจทำหรืออาจไม่ทำ |
- ไม่มีคำแนะนำ |
- ไม่มีคำแนะนำ |
|
3. HPV testing |
- อาจทำหรืออาจไม่ทำ |
- ไม่มีคำแนะนำ |
- ไม่มีคำแนะนำ
|
แนวทางในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
ในปี ค.ศ. 2002 American Cancer Society ได้จัดประชุมร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ American College of Obstetricians and Gynecologists, American Society of Colposcopy and Cervical Pathology (ASCCP), American Social Health Association เป็นต้น ได้ข้อสรุปดังนี้
- ควรเริ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีภายหลังเริ่มมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 ปี หรือเมื่อมีอายุครบ 21 ปี
- ระยะห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ถ้าเป็นการตรวจด้วย conventional Pap smear ควรทำทุกปี แต่ถ้าตรวจด้วย liquid-based cytology ควรตรวจทุก 2 ปี
- ถ้าผลการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง และสตรีนั้นไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการเกิดมะเร็ง ปากมดลูก เช่น ประวัติเคยได้รับ diethylstilbestrol (DES) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์, มีการติดเชื้อ HIV หรือมีภูมิต้านทานบกพร่อง จากการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือได้รับยาเคมีบำบัด, สูบบุหรี่, มีคู่นอนหลายคน, มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นต้น อาจจะเว้นระยะ ห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นทุก 2-3 ปี
- ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ, รับยาเคมีบำบัด, รับยา steroid อย่างต่อเนื่องหรือติดเชื้อ HIV ควรได้รับการตรวจปีละ 2 ครั้งในปีแรก หลังจากนั้นปีละ 1 ครั้ง
- ผู้ที่ได้รับการตัดมดลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก ยกเว้นผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CIN 2/3 หรือ ผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก กรณีดังกล่าวยังได้รับการตรวจภายในอีกอย่างน้อย 10 ปี การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
- ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
- ไม่มีการเหน็บยาในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
- ห้ามล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
- งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจ
วิธีการตรวจ Pap smear technique
- ใส่ปลายแหลมของ Modified Ayre Spatula เข้าในรูปากมดลูก
- ดันส่วนโค้งของ Spatula ชิดปากมดลูก
- หมุน Spatula ด้วยแรงกด จนคิดว่าได้เซลล์จากทุกจุดในบริเวณปากมดลูกทั้งข้างนอกและใน
- ป้ายลงบนแผ่นกระจกโดยวางขนาน
- ค่อย ๆ ลาก Spatula ไปปลายใสของแผ่นกระจก ป้านไปทางเดียว
- ทำอย่างรวดเร็วและเกลี่ยให้บาง
- แช่ในขวดน้ำยา Alcohol