โรคมะเร็ง | วิธีการตรวจคัดกรอง | คำแนะนำ USPSTF | คำแนะนำของ CTFPHC | คำแนะนำของ นักวิชาการไทย |
1.การตรวจเต้านมด้วยตนเอง | - อาจทำหรืออาจไม่ทำ | - มีหลักฐานเล็กน้อยว่า ไม่ควรทำในอายุ40-69 ปี และไม่มีหลักฐาน สนับสนุนในอายุ ต่ำกว่า 40 ปี และ 70 ปีขึ้นไป | - ควรทำในอายุ 20 ปีขึ้นไป ทุกหนึ่งเดือน | |
เต้านม | 2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ | - อาจทำหรืออาจไม่ทำ | - ควรทำร่วมกับ Mammo ทุก 1-2 ปี ในอายุ 50-69 ปี และทุก 1-1.5 ปี ในอายุ 40-49 ปี | น่าทำทุก 1 ปี ในอายุ 40 ปี ขึ้นไป และทุก 3 ปี ในอายุต่ำ กว่า 40 ปี |
3. การตรวจภาพรังสีเต้านม (mammography) | - น่าทำทุก 1-2 ปี ใน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป | - อาจทำหรือ อาจไม่ทำ |
1. การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม
เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลด อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า อาจมีการทำอัลตราซาวด์เพิ่ม เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัย มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แนะนำให้สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปีสตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป ได้แก่
สตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมดังกล่าวนี้ควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปีเพราะชนิดของมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง การได้รับฮอร์โมนเสริมอาจทำให้มะเร็งที่ซ่อนอยู่โตเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับการตรวจแมมโมแกรมคือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือนเพราะช่วงนี้ฮอร์โมนใน ร่างกายเริ่มลดลง ทำให้เต้านมไม่คัดตึง เวลาใช้แผ่นกดขณะตรวจแมมโมแกรมก็ไม่เจ็บ บางรายที่มีก้อนเนื้องอกธรรมดาหรือถุงน้ำ (ซีสต์) ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เล็กน้อยหรืออาจมีถุงน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้มีประจำเดือนเนื่องจากมีฮอร์โมนมากระตุ้นก็อาจยุบลงไปได้เอง
การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม อาจมี ผลลบลวง คือ มีสิ่งผิดปกติแต่แมมโมแกรม ตรวจไม่พบความผิดปกติ ส่งผลให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมล่าช้าออกไป ผลลบลวงพบได้ 4-34% แต่ถ้ามีการตรวจอัลตร้าซาวด์ร่วมด้วยมีรายงานว่าผลลบลวงเหลือเพียง 2-3% การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม อาจมีผลบวกลวง คือ ไม่มีความผิดปกติ แต่ แมมโมแกรมบอกว่าผิดปกติ พบได้ 3-6% ผลบวกลวงทำให้ต้องมาติดตามผลระยะสั้น เช่น ตรวจแมมโมแกรมและหรืออัลตราซาวด์ทุก 6 เดือน หรือต้องเจาะตรวจ/ ผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ โดยไม่จำเป็น การรายงานผลแมมโมแกรม จะใช้แนวทางการแปลงผลที่เรียกว่า BI-RADS (Breast Imaging Reporting and data system) ซึ่งเสนอโดยสมาคมรังสีแพทย์อเมริกัน
จะแบ่งเป็น
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการตรวจเต้านม
3. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
4. การตรวจเต้านมด้วย MRI (ภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)
เนื่องจากการตรวจ MRI มีราคาแพง ปัจจุบันแนะนำให้ทำ MRI ร่วมกับแมมโมแกรม เฉพาะในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของยีน BRCA ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไปหรือ
เคยมีประวัติได้รับการฉายรังสีปริมาณสูงบริเวณหน้าอกตั้งแต่อายุน้อยสรุปแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมสำหรับสตรีไทย
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
ภาพ MRI เต้านม | ภาพวิธีทำแมมโมแกรม | ภาพแมมโมแกรม |