ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยใหม่

ในเวลาราชการ สิทธิประกันสังคม

 

หมายเหตุ และ รายละเอียด

ข้อแนะนำการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์สำหรับผู้ป่วยนอก รพ. จุฬาลงกรณ์ 
ผู้ป่วยที่มีนัดและมาตรงนัดหมาย สามารถนำบัตรประชาชนตัวจริง ลงทะเบียนที่ตู้ลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์ได้ทุกตำแหน่งตามจุดต่างๆ ภายในโรงพยาบาล 
**เริ่มลงทะเบียนได้ 1 ชั่วโมงก่อนเวลานัดหมาย** 
- ลานจักรพงษ์ จำนวนรวม 26 ตู้ พร้อมบริการผู้ป่วยนอกทุกคลินิก มีนัดหรือไม่มีนัดก็มาลงทะเบียนได้เลย 
- จุดเช็กอินอื่นๆ 7 แห่ง รวมกว่า 14 ตู้ พร้อมให้บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีนัดแล้ว และเข้ามาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากด้านอื่น หรือมีนัดตรวจคลินิกตามอาคารต่างๆ เพื่อให้คุณได้รับความสะดวกที่สุด ได้แก่
1. อาคาร ภปร ชั้น 2 บริเวณประตูทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส
2. หน้าอาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ด้านถนนราชดำริ
3. ชั้นล่าง อาคาร สก. 
4. อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ บริเวณโถงทางเชื่อมชั้น 1 และบริเวณคลินิกโลหิตวิทยา ชั้น 1 โซน C
5. หน้าอาคารรัตนวิทยาพัฒน์
6. อาคาร ส.ธ. ชั้น 1 
7. อาคารนวัตบริบาล ชั้น 1 ใกล้ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเอ็มอาร์ไอ 
ที่สำคัญเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันการสวมสิทธิ์ อย่าลืมนำบัตรประชาชนมาทุกครั้งที่มาโรงพยาบาล

หากท่านได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น จะต้องมีจดหมายส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด เพื่อให้ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากโรงพยาบาลต้นสังกัดได้ มิฉะนั้นท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ในเวลาราชการ สิทธิประกันสังคม

อัตราค่าบริการทางรังสีรักษาในเวลาราชการ (8.00-16.00 น.)

สิทธิประกันสังคม ข้าราชการเบิกจ่ายตรง รัฐวิสาหกิจ

 

รายการ เบิกได้ เบิกไม่ได้
การถ่ายภาพจำลองการฉายรังสี 2 มิติ
ด้วยเครื่องจำลองการฉายรังสีเอกซเรย์
1,800  
การถ่ายภาพจำลองการฉายรังสี 3 มิติ
ด้วยเครื่องจำลองการฉายรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
6,000  
การถ่ายภาพจำลองการฉายรังสี 4 มิติ
ด้วยเครื่องจำลองการฉายรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
9,200  
การถ่ายภาพจำลองการฉายรังสี ด้วยเครื่องจำลองการฉายรังสี
แบบเอ็มอาร์ไอ
8,100  
การจัดทำอุปกรณ์ยึดตรึงอวัยวะระหว่างการฉายรังสี 700  
การจัดทำอุปกรณ์ยึดตรึงอวัยวะระหว่างการฉายรังสี
รวมอุปกรณ์ยึดตรึงอวัยวะ แบบสั้น
3,500  
การจัดทำอุปกรณ์ยึดตรึงอวัยวะระหว่างการฉายรังสี
รวมอุปกรณ์ยึดตรึงอวัยวะ แบบยาว
5,700  
การจัดทำอุปกรณ์ปิดกั้นลำรังสีเฉพาะบุคคล 500  
การถ่ายภาพจำลองการฉายรังสีจำลองการฉายรังสี ด้วยเพ็ทซีที 6,000 1,000
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบ 2 มิติ 500  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบ 3 มิติ 8,000  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบปรับความเข้ม 12,500  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด
หรือการคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบรังสีร่วมพิกัด
12,500  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบรังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว 16,000  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสี แบบ 4 มิติ 17,100  
การคำนวณและวางแผนการฉายรังสีอิเล็กตรอน 300  
การทวนสอบตำแหน่งการฉายรังสี ด้วยเครื่องถ่ายภาพบนหัวเครื่องฉายรังสี 800  
การทวนสอบตำแหน่งการฉายรังสี ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 2,000  
การฉายรังสีโฟตอน 2 มิติ ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคปรับลำรังสี 1,100  
การฉายรังสีอิเล็กตรอน 900  
การฉายรังสีโฟตอน 3 มิติ ครอบคลุมทั่วร่างกาย 98,300  
การฉายรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด 57,100  
การฉายรังสี แบบรังสีร่วมพิกัด 120,000  
การฉายรังสี แบบ 3 มิติ 2,600  
การฉายรังสี แบบปรับความเข้ม 5,200  
การฉายรังสี แบบรังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว 140,000  
การฉายรังสีแบบ 4 มิติ 20,000  
การให้รังสีระยะใกล้(HDR) 7,500  
ค่าสารทึบรังสี (MRI) 2,500  
ค่าสารทึบรังสีและเวชภัณฑ์ ต่อขวด (50cc) 1,100