ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

1. การตรวจที่ใช้คัดกรองมะเร็งปอดชนิดต่างๆ

มีการนำการตรวจคัดกรองมาใช้เนื่องจากการตรวจเหล่านี้ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปอดระยะต้น และลดอัตราการเสียชีวิต

จากมะเร็งปอด อย่างไรก็ดีไม่มีการวิจัยทางการแพทย์พบว่าการตรวจคัดกรองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด

นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาการตรวจคัดกรองที่มีประโยชน์สูงและความเสี่ยงต่ำ การศึกษาเรื่อง การตรวจคัดกรองมะเร็ง

มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าการวินิจฉัยมะเร็งปอดได้ในระยะต้นๆ ซึ่งยังไม่มีอาการจะช่วยลดอัตราในการเสียชีวิตจากโรค

หรือไม่ มะเร็งบางชนิดถ้าพบในระยะเริ่มแรกจะเพิ่มโอกาสในการหายมากขึ้น

2. การตรวจคัดกรองแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยการแพทย์

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการแสดงชุดภาพของอวัยวะภายในร่างกายโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ในการสแกนร่างกายแล้ว

ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้ได้รูปภาพออกมา
 



ความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

1. การตรวจคัดกรองมีความเสี่ยง

การตรวจคัดกรองบางอย่างไม่ได้มีแต่ประโยชน์ แต่มีความเสี่ยงด้วย  ท่านจึงควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่านก่อนทำ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบต่างๆ

2. ความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

2.1 การตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอดอาจไม่ช่วยให้สุขภาพผู้ป่วยดีขึ้น  หรือมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ท่าน 

เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายหรือระยะแพร่กระจายไปที่อื่น มะเร็งบางชนิดไม่มีอาการ แต่อาจพบโดยบังเอิญจากการตรวจคัดกรอง

โดยส่วนมากมักได้รับการรักษา  ซึ่งเราไม่ทราบว่าการได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นหรือสั้นลง เนื่องจากการ

รักษามะเร็งมักมีผลข้างเคียง

2.2 ผลลัพธ์จากการตรวจอาจเป็นผลลบลวง: การตรวจคัดกรองอาจเป็นปกติ ทั้งๆ ที่อาจเป็นมะเร็งปอด  ทำให้คนไข้

รายนั้นไปพบแพทย์เพื่อเริ่มการรักษาช้า

2.3 ผลลัพธ์จากการตรวจอาจเป็นผลบวกลวง: การตรวจคัดกรองให้ผลผิดปกติ ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นคนปกติดี ผลตรวจ

คัดกรองเช่นนี้ ทำให้ผู้ตรวจมีความกังวลและต้องทำการตรวจอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การตัดเอาชิ้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจ การตัด

ชิ้นเนื้อมีความเสี่ยงที่จะทำให้ปอดแฟบได้ อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดในภายหลัง

2.4 เอกซเรย์ปอดทำให้ทรวงอกได้รับรังสี การได้รับรังสีบริเวณทรวงอกจากการตรวจเอกซเรย์ปอดอาจทำให้เป็นมะเร็ง

บางชนิดได้เช่น มะเร็งเต้านม แต่อุบัติการณ์น้อยมาก
 



สรุป

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์เพียงพอที่จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

เอกซเรย์ปอดหรือตรวจเสมหะหาเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามมีหลักฐานพบว่า การตรวจทั้ง 3 วิธีดังกล่าวช่วยค้นพบมะเร็งระยะ

ต้นได้มากกว่าประชากรที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง แต่การตรวจพบมะเร็งปอดระยะต้นด้วยวิธีดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยให้ 

ประชากรกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรอง มีอายุยาวนานกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรอง  ผู้รับการตรวจควรได้รับทราบถึงความ

เสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) และค่าใช้จ่ายที่ตามมาหลังจากได้รับการตรวจคัดกรอง

แพทย์ประจำตัวท่านสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดและความจำเป็นของ

ท่านในการรับการตรวจคัดกรอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งมีการทำการวิจัยหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา  ถ้าสนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  

Website : National Cancer Institute

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
WEBMASTER CHULACANCER@YAHOO.COM

จำนวนคนเข้าใช้งาน

6 5 5 0 2 9 0

ข้อมูลในเว็บ chulacancer.net นี้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ การนำไปใช้รักษาผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สาขารังสีรักษา
และมะเร็งวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามข้อมูลนี้ กรุณาปรึกษาแพทย์