มะเร็งระยะแพร่กระจายและการดูแลแบบประคับประคอง
มะเร็งระยะแพร่กระจายและการดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลแบบประคับประคองคืออะไร?
การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) หมายถึง การดูแลที่มุ่งเน้นในการบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และปรับปรุงให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการดูแลรักษาอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจากตัวโรคเอง และ/หรืออาการข้างเคียงอื่นๆจากการรักษาโรคก็ได้ ดังนั้นการดูแลรักษาแบบประคับประคอง จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การดูแลตามอาการ (Supportive care) การดูแลแบบประคับประคองสามารถกระทำได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทุกระยะ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด ก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแล แบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่โรคมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย ทำให้มีข้อจำกัดในการรักษาเพื่อที่จะหายขาด การดูแลแบบประคับประคองจัดเป็น แนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว เช่น การบรรเทาความเจ็บปวด เป็นต้น ถึงแม้ว่าการดูแลแบบประคับประคอง จะสามารถกระทำได้ใน ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระยะก็ตาม แต่บทบาทที่สำคัญแท้จริงแล้วนั้นมักจะอยู่ที่ช่วงปีสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง | |||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
|
การทำความเข้าใจต่อเป้าหมายของการรักษาโรคมะเร็ง
ในการรักษาโรคมะเร็ง ความเข้าใจต่อเป้าหมายของการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งนั้น มี 3 แนวทางหลัก คือ
บางกรณี อาจมีความเข้าใจที่สับสน เพราะการรักษาบางอย่างสามารถกระทำได้ทั้งเพื่อให้หายขาดจากโรค หรือบางครั้งก็เพื่อแค่บรรเทาอาการก็ได้อย่างเช่น การฉายแสงสามารถให้การฉายรังสีเพื่อให้หายขาด หรือเพื่อบรรเทาอาการก็ได้ เป็นต้น ในอดีต อาจจะเคยได้ยินว่า เมื่อโรคลุกลามมากรักษาไม่หายขาด ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้อีก จึงสมควรหยุดการรักษาทุกอย่าง แต่ในปัจจุบัน แนวคิดนี้กำลังเปลี่ยนไป เพราะการรักษาหลายวิธี เช่น การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด และอื่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สุขสบายทั้งหลาย เช่น อาการปวด อาการไม่สบายท้องอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการหายใจลำบาก ต่างๆเหล่านี้ให้ ผู้ป่วยทุกข์ทรมานลดน้อยลง |
|||||||||
|
บทบาทของการแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือก
การแพทย์ผสมผสาน หมายถึง กระบวนการดูแลรักษาที่ใช้ควบคู่ไปกับการรักษาหลัก ซึ่งมิได้มุ่งหวังให้หายขาดจากโรค แต่มุ่งหวังเพื่อให้มีอาการที่ดีขึ้นบ้าง จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแลแบบประคับประคอง ตัวอย่างของ การแพทย์ผสมผสาน มีดังนี้
การแพทย์ทางเลือก หมายถึง การรักษาที่มีความเชื่อว่าสามารถทำให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ยังไม่ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่ามีประโยชน์จริงหรือมีโทษแต่อย่างใด ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาหรือแม้กระทั่งทดลองใช้การรักษาแบบการแพทย์ผสมผสานหรือการแพทย์ทางเลือกคือ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน เพราะบางกรณีการรักษาเสริมนั้นอาจปลอดภัยดี แต่บางกรณีการรักษาเสริมอาจส่งผลให้การรักษาหลักตามมาตราฐานการแพทย์ที่ได้รับอยู่นั้นถูกรบกวน จนเกิดผลที่ตามมาร้ายแรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกรายควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของตนเองก่อนที่จะเลือกใช้แนวทางการรักษาแบบผสมผสาน และการแพทย์ทางเลือกเข้ามาเสริม และควรตระหนักว่า การแพทย์ทางเลือกอาจไม่ใช่ทางรอด
|
||||||||||||
|
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการรักษาที่หายขาด หรือเพื่อการดูแลแบบประคับประคอง ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเนื่องจากเป็นภาวะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษา สมควรที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลที่จะได้รับว่าคุ้มค่าเพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ อย่างไร
|
|
ความต้องการครั้งสุดท้าย (The living will)
ความต้องการครั้งสุดท้าย หมายถึง การจัดเตรียมเอกสารเพื่อระบุความต้องการของตนเอง ซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางด้านการแพทย์เป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจวางแผนการรักษา อาทิเช่น การใช้หัตการเพื่อยื้อชีวิตออกไป ในกรณีที่ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วความสำคัญของความต้องการครั้งสุดท้ายจะมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพิจารณา ให้การช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิต หรือปล่อยให้เสียชีวิตตามกลไกธรรมชาติโดยไม่ต้องยื้อเวลาออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต ซึ่งไม่มีความสามารถพอที่จะเลือกหรือตัดสินใจได้เอง
ความต้องการครั้งสุดท้าย มีขอบเขตหรือนัยยะทางกฎหมายที่ค่อนข้างแคบ ทั้งนี้เพราะความต้องการครั้งสุดท้ายจะครอบคลุมเพียงประเด็นที่เล็กน้อยเกี่ยวกับความต้องการ หรืออยากที่จะสั่งเสียด้านการแพทย์เป็นหลัก และไม่จำเป็นต้องระบุชื่อของบุคคลอื่นในฐานะพยานที่ต้องรับทราบหรือไม่จำเป็นต้องมีการตีความทางกฎหมายในกรณีที่ความต้องการครั้งสุดท้ายไม่ได้รับการปฏิบัติตามศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความต้องการครั้งสุดท้าย
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการออก พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือเกี่ยวกับ living will ดังนี้มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ คำแนะนำสำหรับผู้ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนาและวิธีปฏิบัติเบื้องต้น ตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวงการรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย มีหลากหลายคำจำกัดความ แต่โดยทั่วไปแล้วครอบคลุมถึง การรักษาที่ใช้กลไกหรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์เข้าช่วยยืดระยะเวลาของการเสียชีวิตออกไป มักจะกระทำในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคสูง และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
รูปแบบของการรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย มีดังนี้
อนึ่งการให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่จัดว่าเป็นการรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย เช่นเดียวกันกับการให้ยาหรือการทำหัตถการบางอย่างที่มุ่งหวังให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้นบ้างจากความทุกข์ทรมาน ซึ่งก็คือเป็นการดูแลรักษาแบบประคับประคองนั่นเอง
|
||||||||||||||||||
|
คำถามที่พบได้บ่อย เกี่ยวกับกรณีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตเพื่อให้พ้นความทรมานจากโรคของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
> | เมื่อใดที่เหมาะสมสำหรับการทำเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ? | |
ควรเป็นช่วงเวลาที่ยังเจ็บป่วยไม่มากนัก กล่าวคือยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สำหรับการเลือกและตัดสินใจเลือกที่จะได้รับหรือปฏิเสธแนวทางด้านการแพทย์ |
||
> | จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ? | |
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจสำหรับการเลือกการรักษาได้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ก่อนหน้านี้จะถูกยึดถือเป็นแนวทางหลักในการวางแผนดูแลรักษาของแพทย์ผู้รับผิดชอบ |
||
> | มั่นใจได้อย่างไรว่าแพทย์ที่ดูแลรักษา ทราบว่าผู้ป่วยมีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ? | |
เมื่อใดที่ผู้ป่วยคนใดๆก็ตาม ได้จัดทำเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ขึ้นมาแล้ว ควรแจ้งแก่บุคคลที่ใกล้ชิดไว้เสมอ พร้อมทั้งจัดทำสำเนาเพื่อแจกจ่ายแก่สมาชิกอื่นๆในครอบครัว รวมทั้งเพื่อนๆ ที่ผู้ป่วยต้องการให้ทราบถึงเจตจำนงนั้น และที่สำคัญคือ มอบให้กับแพทย์ที่ดูแลรักษาไว้เสมอ หรือทั้งนี้อาจจะเป็นสถานพยาบาลที่คิดว่าจะได้ไปใช้บริการเป็น ไปได้ควรให้สมาชิกในครอบครัวพกพาไว้สำหรับกรณีหลังเสมอ แนะนำว่าไม่ควรเก็บเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ไว้ในสถานที่ที่มิดชิด และไม่มีผู้อื่นทราบ |
||
> | แพทย์ที่ดูแลรักษา จำเป็นต้องเคร่งครัดเพียงใดกับเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ที่ผู้ป่วยกำหนดขึ้น? | |
ไม่จำเป็นเสมอไปที่แพทย์จะทำตามเจตจำนงที่ป่วยกำหนดไว้ทั้งหมดในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ทั้งนี้เพราะการพิจารณาต้องขึ้นอยู่กับสติสัมปชัญญะเป็นหลัก รวมถึงต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการนั้นไม่ขัดกับหลัก กฎหมายของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งกรณีที่เอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ นั้นได้รับการปฏิเสธจากแพทย์ในสถาน พยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วนั้น สถานพยาบาลแห่งนั้นควรที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่อาจจะตอบสนองเจตจำนงของผู้ป่วยได้ดีกว่า |
||
> | จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อผู้ป่วยไม่มีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ? | |
ผู้ป่วยอาจได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ตรงกับเจตจำนงที่ตนเองต้องการ กรณีนี้แพทย์ที่รักษาจะขอความเห็นจากสมาชิกในครอบครับที่ใกล้ชิด ทางกฎหมายเป็นหลัก โดยลำดับแรกคือ ภรรยา ลำดับต่อไป คือ บุตรที่บรรลุ นิติภาวะ บิดามารดา และสุดท้ายคือ พี่น้อง แต่ในบางกรณีก็อาจจะมีปัญหาคือ ญาติในลำดับชั้นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว อยู่ห่างไกลไม่สะดวกในการติดต่อ หรือญาติที่กล่าวมาไม่ทราบเจตจำนงของผู้ป่วยเช่นกัน และที่เป็น ปัญหามากที่สุดคือ ญาติมีความ คิดเห็นไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตจำนงไว้ จึงจำเป็นที่ต้อง ใช้การไต่สวนของศาลเพื่อให้แนวทางการรักษาได้ข้อสรุป ดังนั้นจะเห็นได้ถึงความสำคัญของการเขียนเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งบอกกล่าวแก่บุคคลใกล้ชิดไว้ก่อน |
||
> | เมื่อมีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯแล้ว จะส่งผลใดๆต่อการรักษา ณ ปัจจุบันหรือไม่? | |
ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี เอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ก็ไม่ส่งผลต่อการรักษา ณ ปัจจุบัน |
||
> | ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยน เจตจำนงที่ระบุในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ได้หรือไม่? | |
ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเปลี่ยน ควรมีการเซ็นรับรอง และระบุวันที่ ให้ชัดเจน พร้อมทั้งกับมีพยานร่วมรับรู้ด้วย ในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกากำหนดให้เมื่อใดที่ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนเจตจำนงในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯจะต้องแจ้ง แก่แพทย์ผู้ดูแล ให้เซ็นรับทราบด้วย |
||
> | เอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ มีผลขณะที่ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ที่บ้านหรือไม่? | |
กรณีที่ผู้ป่วยนั้นพักอาศัยอยู่ที่บ้านแล้ว เกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น ระบบบริการฉุกเฉินอาจจะให้การช่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ แก่ผู้ป่วยตามระบบงานก่อนได้ โดยที่ไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายนั้นๆ อาจมีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ อยู่ ก่อนแล้วเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาจึงมีการทำสายข้อมือที่ระบุข้อความว่า “ไม่ต้องช่วย ฟื้นคืนชีพ” ไว้ให้แก่ผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน |
||
> | อะไรคือ คำสั่ง “ไม่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ”? | |
คำสั่ง “ไม่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ” คือ การรักษาที่แพทย์ผู้ดูแล ได้สั่งการไว้แก่ทีมงานที่ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยว่าเมื่อ ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดทำงาน ไม่ต้องมีการช่วยเหลือ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของคำสั่งการในเอกสาร แสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ของผู้ป่วย |
||
> | อะไรคือ “การตัดสินใจในช่วงใกล้เสียชีวิต”? | |
การตัดสินใจในช่วงใกล้เสียชีวิต มักมีความหมายถึง การตัดสินใจถึงการเลือกที่จะได้รับการรักษาอย่างไรเมื่อ ผู้ป่วยนั้นๆใกล้เสียชีวิตโดยทั่วไปมักจะมีเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับการยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาเพื่อยื้อชีวิต ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว ก็คือการจัดทำเป็นเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯนั่นเอง |
||
> | อะไรคือ “สิทธิการตายอย่างสงบ”? | |
สิทธิการตายอย่างสงบ หมายถึง การเสียชีวิตโดยปราศจากความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานซึ่ง มักจะพบได้ใน กรณีที่ผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรังจนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ (พิจารณาที่ความสามารถในการพูดจา สื่อสาร หรือเขียนหนังสือ เป็นเกณฑ์) ในสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย ยกเว้นมลรัฐโอเรกอน ที่ควรทราบคือ สิทธิการตายอย่างสงบ นั้นมิใช่การุณยฆาตซึ่งเป็นการให้ยาในขนาดสูงจนผู้ป่วยเสียชีวิตไปในที่สุด |
บทบาทของศาสนาหรือการดูแลทางด้านจิตวิญญาณ
ศาสนาเป็นแหล่งพึ่งพิงที่สำคัญและมีอิทธิพลสูง สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง สำหรับการสร้างศรัทธาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ บทบาทของผู้นำทางศาสนา เช่น พระสงฆ์หรือนักบวชในแต่ละศาสนา สามารถเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยในด้านเป็นแหล่งพึ่งพิงทางจิตใจและจิตวิญญาณถึงขนาดที่บางโรงพยาบาลในต่างประเทศ มีการสนับสนุนให้คณะผู้ทำพิธีทางศาสนาเข้ามามีส่วนในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วย
|
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย |
|
ประเด็นในด้านสมาชิกครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย
การที่ครอบครัวใดๆ มีสมาชิกเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวนั้นๆ รูปแบบหนึ่งที่พบได้เสมอ คือ การที่สมาชิกในครอบครัวนั้นๆพยายามกระทำทุกหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคคลอันเป็น ที่รักอย่างดีที่สุด ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เช่น การต้องละจากงานประจำมาดูแล ผู้ป่วย การต้องรับบทบาทหัวหน้าครอบครัวหรือหารายได้เข้าครอบครัว เป็นต้นในส่วนของผู้ป่วยเองก็เช่นกัน หน้าที่บทบาทของตนเองที่เคยได้ปฏิบัติในครอบครัวก็จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็ง เช่น สตรีผู้หนึ่งต้องป่วยเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ต้องกลายเป็นผู้ที่ไร้สมรรถภาพ ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงได้สูญเสียบทบาทของการเป็นภรรยาที่คอยดูแลสามี สูญเสียบทบาทของแม่บ้านในการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบ้าน รวมทั้งสูญเสียบทบาทของมารดาในการ
ดูแลบุตรอีกด้วย ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะเหนี่ยวนำให้สตรีรายนี้เกิดภาวะ “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสีย” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอารมณ์ซึมเศร้า ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะต้องเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงส่วนนี้ และพร้อมทั้งพยายามช่วยเหลือเกื้อกลูแก่ผู้ป่วย และครอบครัวที่ประสบปัญหาเช่นนี้เสมอ
อีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ ผู้ที่รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยนั้น ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไป เพราะนอกจากที่จะต้องเผชิญกับความหดหู่ และเหนื่อยยากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว ต้องอย่าลืมว่าผู้นั้นก็ยังต้องมีภาระในการดูแลรับผิดชอบสุขภาพของตนเองอีกด้วยสิ่งสำคัญคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นควรได้มีเวลาสำหรับการผ่อนคลายจากความคร่ำเคร่งในภาระกิจการดูแลผู้ป่วยด้วย บทความรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระธรรมปิฏก
|
|
การเผชิญกับการสูญเสียชีวิต
สำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายนั้น ย่อมจำเป็นสำหรับการเผชิญกับการสูญเสียชีวิตในเวลาอันไม่ไกล ถ้ากรณีที่ตั้งรับสถานการณ์ได้ดี การเสียชีวิตก็เป็นเพียงแค่สัจธรรมที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญเท่านั้น แต่ไม่น้อยที่เป็นกรณีที่ผู้ป่วย และ/หรือครอบครัวอยู่ในอาการหวาดกลัวและเจ็บปวด ทรมานกับการเผชิญหน้านี้มีผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะรักษาตัวอยู่ที่บ้านพักของตนจนกระทั่งเสียชีวิตไป ทั้งนี้เพราะการเจ็บป่วยเรื้อรังและยาวนานนั้นทั้งญาติและทีมแพทย์จะสามารถดูแลได้ง่ายกว่าถ้าอยู่ในบ้านพักของตนเอง
|
|
การรับมือกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย จะมีความรู้สึกประหม่าและกังวลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยเข้าใกล้เวลาของการสูญเสียชีวิต ต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำสำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจและรับรู้ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเวลาแห่งการใกล้สูญเสียชีวิตดำเนินขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
อาการแสดงและอาการที่บ่งว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาของการสูญเสียชีวิต
การเปลี่ยนแปลงทางด้านหน้าที่การทำงานของกาย | ||
> | ช่วงเวลาการนอนยาวนานขึ้น | |
> | ปลุกตื่นยาก | |
> | สับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ หรือบุคคล | |
> | ไม่อยู่นิ่ง หรืออาจจะมีการแกะ ดึง บริเวณที่นอน | |
> | วิตกกังวล ลุกลี้ลุกลน กลัวที่จะอยู่คนเดียวในเวลากลางคืน | |
> | ไม่อยากอาหารหรือน้ำ | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ให้เวลากับผู้ป่วยให้มากขึ้น | |
> | ย้ำเตือนกับผู้ป่วยเสมอว่ามีเราอยู่เคียงข้าง | |
> |
ใช้ความเงียบสงบอย่างมีสติ เพราะการใช้คำพูดหรือน้ำเสียงที่แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ป่วยจะช่วยลดการเกิดความ หวาดกลัวหรือความสับสนในผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี |
|
> | ใช้การประคบเย็น ที่หน้าผาก ใบหน้า และลำตัว แก่ผู้ป่วย | |
การเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่ง |
||
> | มีเมือกหรือเสมหะมากขึ้นในลำคอ ทำให้ฟังดูมีเสียงที่ทรมาน บางครั้งเรียก “เสียงระรัวแห่งความตาย” | |
> | เสมหะที่เหนียวข้นขึ้น เนื่องจากดื่มน้ำน้อย และทำให้ยากต่อการไอออกมา | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นภายในห้อง | |
> |
ใช้ก้อนแข็ง หรือหลอดดูดน้ำ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถกลืนได้ ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้เสมหะลดความเหนียวลงได้และ แก้ความกระหายรวมทั้งปากแห้งได้ |
|
> | เปลี่ยนท่าทางให้ผู้ป่วย เพื่อช่วยระบายสารคัดหลั่งในปาก | |
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต |
||
> | แขน ขา จะเย็นขึ้น | |
> | สีคล้ำขึ้นตามแขน ขา มือ และเท้า ตามมาด้วยการเป็นจุดๆ จ้ำๆ ของเลือด | |
> | ลักษณะดังกล่าวจะแพร่กระจายไปตามร่างกายส่วนอื่นๆ | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ห่มผ้าให้ความอบอุ่น | |
> | ระมัดระวังในการใช้ผ้าห่มไฟฟ้า เพราะอาจจะทำให้เกิดการไหม้แก่ผิวหนังได้ | |
การเปลี่ยนแปลงในระบบการรับรู้ |
||
> | สายตามองเห็นลดลง | |
> | การได้ยินลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพูดไม่ได้ แต่ยังสามารถได้ยินอยู่ | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ | ||
> | เปิดไฟสลัว อย่าเปิดไฟส่องเข้าดวงตาผู้ป่วย | |
> | ยังคงต้องพูดคุยและมีสัมผัสที่เหมาะสม เพื่อแสดงว่าเรายังคงอยู่เคียงข้างผู้ป่วยเสมอ | |
การเปลี่ยนแปลงการหายใจ |
||
> | การหายใจผิดจังหวะ | |
> | หยุดหายใจเป็นช่วงๆ (10-30 วินาที) | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ยกศีรษะผู้ป่วยให้สูงขึ้นโดยหมอนหรือหมุนเตียงให้สูงขึ้น (กรณีใช้เตียงแบบโรงพยาบาล) | |
การเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย |
||
> | ปัสสาวะออกลดลง | |
> | ปัสสาวะเข้มขึ้น | |
> | กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่ | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ใส่ผ้าอ้อมอนามัยแก่ผู้ป่วย | |
> | เรียนรู้การใช้สายสวน ในกรณีที่จำเป็น | |
อาการที่บ่งชี้ว่าเสียชีวิตแล้ว |
||
> | หยุดหายใจ | |
> | ชีพจรหยุดเต้น | |
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ |
||
> | ติดต่อผู้มีอำนาจในการตรวจสอบการเสียชีวิต และออกเอกสารสิทธิ์ในท้องที่มายืนยันหรือพิสูจน์ |
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เมื่อใดก็ตามที่มีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ใกล้ชิดย่อมต้องมีความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นได้ ลักษณะปรากฎการณ์เช่นนี้ เรียกว่า
“ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ และอาจมีความแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลทั้งด้านอารมณ์ ที่อาจมีความ หลากหลาย หรือระยะเวลาที่อาจจะสั้น-ยาวแตกต่างกัน รวมถึงการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมด้วย ทั้งนี้อาจเพราะมีความแตกต่างทางด้านปัจจัยทางศาสนา และสังคม-วัฒนธรรมด้วย |
|
การสูญเสียภายหลังการเจ็บป่วยที่ยาวนาน
“ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” ในกรณีของการเจ็บป่วยยาวนานแล้วเสียชีวิตนั้น เป็นสิ่งที่พอจะคาดการณ์ได้ และช่วยให้ครอบครัวค่อยๆ ปรับสภาพรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆในอนาคตได้พอควร ในระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญหน้ากับความตายอยู่อย่างช้าๆนั้น เหล่าผู้ใกล้ชิดจะค่อนข้างรับสภาพได้ แต่เมื่อเวลาแห่งการสูญเสียคืบคลานเข้ามาจริงๆ ก็ยังพบว่าส่วนหนึ่งก็มีปฏิกิริยาแห่งการสูญเสียไม่น้อยเช่นกัน
|
|
ภาวะโรคซึมเศร้ารุนแรงและภาวะแทรกซ้อนจาก“ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก”
ภายหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักได้จากไปนั้น การโศกเศร้าเสียใจ เจ็บปวด โกรธ ร้องไห้ และซึมเศร้า ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้สิ่งสำคัญคือ การแยกแยะให้ได้ว่า ระดับคือปกติธรรมดา หรือระดับไหนคือระดับที่เรียกว่าเจ็บป่วยรุนแรงแล้ว ซึ่งพบว่า “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก” นั้นสามารถเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ประมาณ 20% ซึ่งกรณีของการเกิดเป็นโรคซึมเศร้าแล้วนั้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอ
|
|
การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว
การสูญเสียสมาชิกไปหนึ่งคน ย่อมส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ทัศนะคติและพฤติกรรมที่แสดงออกของครอบครัวจะขึ้นอยู่กับอิทธิพล ของวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของเหล่าสมาชิกเอง สิ่งสำคัญคือการเปิดใจและสื่อสารกันของสมาชิกที่เหลือจะเป็นตัวช่วยประคับ- ประคองให้ผ่านวิกฤติไปได้ด้วยดี นอกจากนี้การพูดคุยและถกกันในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบและหน้าที่ของสมาชิกที่เหลือก็เป็นสิ่งจำเป็น
|
|
การช่วยเหลือแก่เด็กที่ประสบภาวะ “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก”
ผู้ใหญ่มักจะคิดเสมอว่าเด็กไม่เข้าใจในเรื่องความตาย ซึ่งไม่จริงเลย ทั้งนี้เพราะอายุของเด็กแต่ล่ะช่วงวัยจะเรียนรู้ถึงการตายได้แตกต่างกัน กล่าวคือ เด็กก่อนวัยเรียนนั้น คิดว่าความตายเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวและผู้ที่ตายจะกลับมามีชีวิตใหม่ได้ ส่วนเด็กวัย 5-9 ปีนั้น จะเข้าใจว่าบุคคลที่ ตายนั้นคือ ได้ไปที่ไหนสักแห่งหนึ่ง เพียงสักระยะ ทำให้ไม่ได้เห็นในช่วงนี้ แต่เด็กอายุหลัง 9 หรือ 10 ปี ไปแล้วจะเข้าใจได้แล้วว่าคนที่ตายไปแล้ว นั้นหมายถึงอย่างไร ตามที่คนทั่วไปเข้าใจได้ เด็กที่ประสบภาวะ “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” จะไม่มีกลไกตามธรรมชาติในการกลับคืนสู่ปกติอย่างเช่นผู้ใหญ่มี เด็กเหล่านั้นจะมีอารมณ์โศกเศร้า โกรธ รู้สึกผิด ไม่ปลอดภัย และวิตกกังวล บางครั้งเด็กจะแสดงอารมณ์โกรธผ่านทางญาติที่เหลืออยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการในอนาคตได้ บ่อยครั้งที่เด็กจะคิดว่าความตายที่เกิดขึ้นนั้น เค้ามีส่วนในความผิดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กเหล่านั้นเคยคิดอยากให้คนผู้นั้น ตายจริงๆ ด้วย โดยอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบของการฝันร้าย หรือการแสดงออกมาในพฤติกรรมที่ดูเด็กกว่าอายุจริง บางกรณีเด็กบางคนจะ พยายามทำให้ดูว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสีย แต่ก็ไม่สามารถทำได้ตลอด เพราะก็มีช่วงเวลาที่ได้แสดงออกมาว่าสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักไป
|
|
การพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับเรื่องความตายหรือการสูญเสีย
โดยปกติแล้วผู้ปกครองส่วนมากจะไม่ปรารถนาที่จะพุดคุยเรื่องความตายกับเด็กๆ ในปกครองของตนเองเพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องการกับการเล่าเรื่องดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี การได้พุดคุยกับเด็กๆ เรื่องความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เป็นการช่วยให้เขาเหล่านั้นเผชิญกับความกลัวได้ดีขึ้นปฏิกิริยาของเด็กต่อการสูญเสียชีวิต หรือการตายนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เด็กอาจจะเป็นไปในรูปแบบของคำถามที่เกี่ยว
ข้องกับความตาย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมหรือทำให้ผู้ใหญ่อารมณ์เสียได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จะต้องพึงระลึกล่วงหน้าไว้ก่อนเสมอบทบาท ที่ดีที่สุดที่ผู้ใหญ่ควรกระทำคือการรับฟังอย่างตั้งใจและละเอียดอ่อน ต่อไปนี้คือ แนวทางหรือคำแนะนำสำหรับการพูดคุยกับเด็กในเรื่องของการสูญเสีย หรือความตาย
ผู้ปกครองนั้นมีความต้องการในการปกป้องบุตรหลานของตนเองเสมอ แต่เด็กๆ เหล่านั้นควรได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมกับการสูญเสียที่เกิดขึ้น การอนุญาตให้เข้าร่วมงานพิธีศพ ถือว่าเป็นการช่วยให้เด็กๆเหล่านั้นยอมรับเรื่องการสูญเสียได้ดีมากขึ้น แต่ควรที่จะมีการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่เด็กๆเหล่านั้นอาจจะได้เห็น หรือได้ยินจากในงานพิธีศพ เช่น บอกล่วงหน้าว่า เด็กๆอาจจะเห็นภาพของผู้คนมากมายที่กำลังร้องไห้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับงานพิธีเช่นนี้ ในบางกรณีที่เด็กปฏิเสธที่จะไปงานพิธีศพ ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรบีบบังคับ |
||||||||||||||||||
|
เอกสารอ้างอิง Advanced Cancer and Palliative Care Treatment Guidelines for Patients. NCCN Guidelines Version I / December 2003; page 5-22. |