ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Cancer Therapies)

บทนำ

  • Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางชนิดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้นๆ
  • สืบเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียกว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies”
  • Targeted cancer therapy ที่ได้รับการยอมรับในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดนั้นได้แก่ ยาที่ไปรบกวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ในการเจริญเติบโต (cell growth signaling) หรือ การสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งกลไกดังกล่าวจะทำให้เซลล์มะเร็งตาย และเซลล์มะเร็งที่ตายแล้วเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มากำจัดเซลล์มะเร็งดังกล่าว ซึ่งจะไปส่งเสริมให้ยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งบางตัวนั้นสามรถเข้ามาทำลายเซลล์มะเร็งเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น
  • ในปัจจุบันการวิจัยค้นคว้า และการประเมิน molecular targets ตัวอื่นๆ ของสถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institutes (NCI)) ได้รับการสนับสนุนโดย NCI’s Chemical Biology Consortium ซึ่งองค์ดังกล่าวยังช่วยพัฒนา ยาตัวใหม่ๆที่จะนำมารักษาโรคมะเร็งต่อไปในอนาคตอีกด้วย


สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
WEBMASTER CHULACANCER@YAHOO.COM

จำนวนคนเข้าใช้งาน

6 5 5 0 2 9 0

ข้อมูลในเว็บ chulacancer.net นี้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ การนำไปใช้รักษาผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สาขารังสีรักษา
และมะเร็งวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามข้อมูลนี้ กรุณาปรึกษาแพทย์