สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker)
ใจความสำคัญ
# สารบ่งชี้มะเร็งเป็นสารชีวเคมีที่พบได้ทั้งในเลือด ปัสสาวะ และเนื้อเยื่อ โดยจะพบปริมาณมากผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบางราย (อ่านคำถามที่ 1)
# สารบ่งชี้มะเร็งมีหลายชนิดและพบได้ในมะเร็งชนิดต่าง ๆ กัน (อ่านคำถามที่ 1)
# สารบ่งชี้มะเร็งมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัย ดูการตอบสนองต่อการรักาาและติดตามการกำเริบของโรคมะเร็ง (อ่านคำถามที่ 3 และ 4)
# โดยทั่ว ๆ ไปสารบ่งชี้มะเร็งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ ต้องใช้การตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย (อ่านคำถามที่ 3)
# ปัจจุบันมีการศึกษาสารบ่งชี้มะเร็งอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การตรวจพบโรคมะเร็งและการติดตามโรคมะเร็งเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น (อ่านคำถามที่ 7)
1. สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) คืออะไร?
สารบ่งชี้มะเร็งเป็นสารที่ผลิตขึ้นมาจากเซลล์มะเร็งเองหรือผลิตจากเซลล์ร่างกายที่ตอบสนองต่อมะเร็ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด สารบ่งชี้มะเร็งตัวหนึ่งอาจตรวจ
พบค่าผิดปกติได้ในมะเร็งหลายชนิด เช่น CEA สามารถตรวจพบทั้งในมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม ในบางครั้งสารบ่งชี้มะเร็งเหล่านี้ยังสามารถตรวจพบในโรคที่ไม่ใช่
โรคมะเร็งได้และในผู้ป่วยบางรายที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งก็อาจตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของสารบ่งชี้มะเร็งได้เช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสารบ่งชี้มะเร็งหลายชนิดซึ่งตรวจพบมีค่าผิดปกติได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่สารบางชนิดสามารถตรวจพบในสภาวะอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งได้เช่นกัน
ในปัจจุบันยังมีโรคมะเร็งหลายชนิดที่ไม่สามารถตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งได้
2. ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) คืออะไร?
ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่าผู้อื่น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในพันธุกรรมที่เกี่ยวกับมะเร็งชนิดนั้น โดยเรียกการเปลี่ยนแปลงที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค
มะเร็งมากขึ้นนี้ว่า "Risk marker (ปัจจัยเสี่ยง)" การตรวจพบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้แพทย์ประเมินโอกาสที่จะป่วยเป็นมะเร็งได้มากขึ้น โดยสรุป risk marker ช่วยบอก
โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็ง ส่วน Tumor marker ช่วยบอกการมีอยู่ของโรคมะเร็งนั้น
3. Tumor marker มีประโยชน์อย่างไรในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง?
สารบ่งชี้มะเร็งมีประโยชน์ในการวินิจฉัย และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งโดยการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรใช้
การตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น
การตรวจระดับสารบ่งชี้มะเร็งก่อนการรักษานั้นมีประโยชน์ในการวางแผนการรักษา และในมะเร็งบางชนิดระดับสารบ่งชี้มะเร็งยังบ่งถึงระยะของโรคได้อีกด้วย เช่น
มะเร็งอัณฑะ
สารบ่งชี้มะเร็งสามารถใช้ในการบอกการตอบสนองต่อการรักษา เช่น การตรวจพบระดับสารปกติอาจช่วยบอกถึงมะเร็งตอบสนองดีต่อการรักษา ในขณะที่การตรวจพบ
ระดับสารสูงกว่าปกตินั้นอาจบ่งถึงการที่มะเร็งไม่ตอบสนองต่อการรักษา และเมื่อการรักษาสิ้นสุดแล้ว การตรวจพบสารบ่งชี้มะเร็งอาจหมายถึงการกำเริบของโรคมะเร็ง
4. ควรตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเมื่อไหร่และอย่างไร?
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งมีหลายวิธี โดยการตรวจเลือด ปัสสาวะ บางครั้งจากเนื้อเยื่อตัวอย่าง
สารบ่งชี้มะเร็งอาจจะตรวจขณะที่วินิจฉัยโรคมะเร็งก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา หลังการรักษา และบางครั้งหลังการรักษาเสร็จสิ้นไปนานแล้วเพื่อดูการกำเริบของ
โรคมะเร็งโดยแนวโน้มของระดับสารบ่งชี้มะเร็งที่เพิ่มขี้นหรือลดลง มีส่วนสำคัญในการพิจารณาการตอบสนองต่อการรักษา หรือการกำเริบของโรคมะเร็ง
5. สารบ่งชั้มะเร็งสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้หรือไม่?
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหมายถึง การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ การตรวจคัดกรองที่ดีนั้นต้องเป็นการตรวจที่มีคุณภาพของการ
ตรวจสูงนั่นหมายถึง ในกลุ่มผู้ป่วยที่ถูกระบุว่าเป็นมะเร็งนั้น ต้องมีสัดส่วนของความถูกต้องสูงด้วย และมีความแม่นยำสูงนั่นหมายถึง ในกลุ่มคนไม่เป็นมะเร็งนั้นต้องมีสัดส่วน
ของ ผู้เป็นมะเร็งต่ำสารบ่งชั้โรคมะเร็งที่มีใช้อยู่ปัจจุบันยังมีความไวและความ แม่นยำไม่เพียงพอที่จะใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามในมะเร็งบางชนิด
เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถเจาะเลือดหาค่า PSA (สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก) เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. อนาคตของสารบ่งชี้มะเร็ง?
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องสารบ่งชี้มะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้สารบ่งชี้มะเร็งในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
ในระยะเริ่มแรก เช่นในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด ลำไส้ใหญ่ และรังไข่ โดยมีการคาดการว่าผลของการศึกษานั้นจะออกมาในอีกไม่กี่ปีนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ศึกษาถึงโปรตีนและหน่วยพันธุกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรอง การรักษาและการพยากรณ์โรคมะเร็งอีกด้วบทความเรื่องสารบ่งชี้มะเร็งเพิ่มเติม