การสูบบุหรี่กับโรคมะเร็ง
ใจความสำคัญ
# การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (ดูคำถามที่ 1)
# ผู้ได้รับควันบุหรี่ในอากาศโดยมิได้สูบ เรียกว่า ผู้สูบบุหรี่มือสอง (Secondhand smoker) มีอัตราการตาย 3,000 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกา (ดูคำถามที่ 2)
# บุหรี่มีสารเคมีมากมายหลายพันชนิด ในจำนวนเหล่านี้มีถึง 60 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง (ดูคำถามที่ 3)
# อัตราความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการสูบ (ดูคำถามที่ 4)
# การเลิกสูบบุหรี่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากและมีผลทันที ซึ่งรวมไปถึงการลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งอื่น ๆ โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือด
ในสมองตีบหรือเตก และโรคปอดเรื้อรัง (ดูคำถามที่ 5)
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งช่วยลดการเสียชีวิตได้ถึง 30% ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั้งหมดในแต่ละปีในอเมริกา นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดโรค
ปอดเรื้อรัง (ถุงลมโปร่งพองและปอดอักเสบเรื้อรัง), โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก และต้อกระจก การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เกิดทารกตายระหว่าง
คลอด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การตายอย่างกระทันหันของทารก (SIDS) และภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์อื่น ๆ การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคที่
กล่าวมาได้อย่างมาก รวมไปถึงยังสามารถลดผลกระทบต่อเด็กได้
1. บุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งได้อย่างไร?
การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการตายจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% ซึ่งมะเร็งปอดนั้นจัดว่าเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญจากโรคมะเร็งทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้การสูบบุหรี่
ยังก่อให้เกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งช่องปาก, มะเร็งคอหอย, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งไต, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปากมดลูก,
มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Acute myeloid leukemia)
2. ผู้ไม่สูบบุหรี่จะมีปัจจัยเสี่ยงหรือไม่?
นอกไปจากการสูบบุหรี่โดยตรงแล้ว การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อม (Secondhand smoker of environmental tobacco smoke; ETS) ก่อให้เกิด
มะเร็งปอด, โรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก ได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (การสูบบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมนั้นประกอบไปด้วยการได้รับควันบุหรี่ที่เผาไหม้และควันที่
ผู้สูบบุหรี่หายใจออกมาจากปอด) องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency; EPA), สถาบันพิษวิทยาด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมอเมริกา
(The National Institute of Environmental Health Science's National Toxicology Program) และองค์การอนามัยโลกด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง
(WHO's International Agency for research on Cancer; IARC) ได้จัดว่าการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมเป็นการก่อให้เกิดมะเร็ง U.SEPA ประมาณการว่า
การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการตายจากมะเร็งปอดถึง 3,000 คน ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และยังทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก 0-18 เดือน
300,000 คนต่อปีในอเมริกา
3. สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายในควันบุหรี่คืออะไร?
ควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีประมาณ 4,000 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงสารก่อมะเร็งถึง 60 ชนิด สารต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์, ทาร์, สารหนู (Arsenic)
และตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ นิโคตินเป็นสารเสพติดที่อยู่ในยาสูบตามธรรมชาติและทำให้เกิดการเสพติดในผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมไปถึงบุหรี่ นิโคตินถูกดูดซึมเข้าสู่กระแส
เลือดและไปยังสมองได้อย่างรวมเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาทีระหว่างการสูบบุหรี่ ซึ่งการก่อให้เกิดการเสพติดของนิโคตินนี้เหมือนกับการเสพติดในเฮโรอีนและโคเคน
4. การได้รับควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อผู้สูบได้อย่างไร?
การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอันตรายเกือบทุกอวัยวะของร่างกาย อัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งต่าง ๆ, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก,
โรคทางเดินหายใจนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้สูบได้รับควันบุหรี่มากขึ้น การสูบบุหรี่มากขึ้นนี้หมายถึงจำนวนมวนที่สูบต่อวัน, ปริมาณของการสูบ (เช่นขนาดและความถึ่ของบุหรี่),
อายุที่เริ่มสูบบุหรี่, จำนวนปีที่สูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อม (Secondhand smoke)
5. การหยุดสูบบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้อย่างไร?
การหยุดสูบบุหรี่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างทันทีและมากมายต่อสุขภาพ การหยุดสูบนั้นจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็งต่าง ๆ, โรคหัวใจ,
โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก และโรคปอดเรื้อรัง ยิ่งผู้สูบหยุดบุหรี่เร็วเท่าไรก็ยิ่งก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น มีการวิจัยที่บอกว่าคนที่เลิกสูบบุหรี่
ก่อนอายุ 50 ปี จะลดปัจจัยเสี่ยงต่อการตายใน 15 ปีข้างหน้าได้ถึงครึ่งหนึ่งเมือเทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อ การสูบบุหรี่ที่มีสารต่าง ๆ เช่น ทาร์และนิโคตินน้อย (Low-yield
cegarettes) ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพอย่างชัดเจน (NCI fact sheet Questions and Answer About Smoking Cessation ใน
http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Tobacco/cessation )
6. ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.cancer.gov/cancerinfo/tobacco
http://www.smokefree.gov (ข้อมูลเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่)
http://www.cdc.gov/tobacco