การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งหรือการตรวจสุขภาพมีประโยชน์จริงหรือ
การเจาะเลือดหรือการตรวจเฉพาะจุด เป็นการค้นหาโรคคนทั่วๆ ไปเรียกการตรวจแบบนี้ว่าการตรวจสุขภาพ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ได้ประโยชน์นั้น
มีอยู่แค่ การตรวจแมมโมแกรม สำหรับมะเร็งเต้านมการตรวจภายในสำหรับมะเร็งปากมดลูก การตรวจหาเลือดในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องทางทวารในมะเร็งลำไส้ใหญ่
และการตรวจ PSA ร่วมกับตรวจทางทวารในการค้นหามะเร็งต่อมลูกหมาก
ส่วนการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวเป็นการตรวจทางอ้อม เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งที่เรียกว่า Tumor marker ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะ
ส่วนใหญ่ค่าจะปกติ หรือขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้บ่งบอกอะไร
หลักของการตรวจสุขภาพนั้นจึงเน้นที่ตรวจเลือดทั่วๆ ไป ตรวจ x-ray ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจหาเบาหวาน วัดความดันโลหิตจาง การทำงานของไต ของตับ
โรคเก๊าต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยและอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่หากว่าเรามีอาการผิดปกติอะไรขึ้นมา ตรงจุดนั้นจึงไปตรวจหาโรคที่อาจเกี่ยวข้องได้ น่าจะเป็น
ประโยชน์มากกว่า
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบันมีการแนะนำให้ทำเฉพาะโรคที่มีประโยชน์ต่อการรักษา หมายความว่า โรคมะเร็งที่ยิ่งเจอเร็ว โอกาสหายยิ่งมากและ
โรคนั้นๆ ต้องเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย จึงจะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
สำหรับค่าบ่งชี้มะเร็งยังไม่ถือเป็นการคัดกรองโรคที่ดียกเว้นค่า PSA ซึ่งใช้ในการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่โรคนี้ก็พบได้ไม่บ่อยในคนไทย นอกจากนี้หาก
ค่าบ่งชี้มะเร็งขึ้นเพียงเล็กน้อยที่จะเป็นการยุ่งยากในการตรวจเพิ่มเติมอีกเพราะค่า Tumor marker ที่ว่านั้นไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงหรือมีความไวพอจะตรวจมะเร็ง
ที่เป็นน้อยๆ ได้ (อาจจะยกเว้นแต่ PSA สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก)
การตรวจคัดกรองก็อาจมีผลเสีย นั่นคือไม่ว่าผลจะออกมาเป็นปกติ หรือผิดปกติก็อาจเป็นปกติลวง เรียกภาษาหมอว่าผลลบลวง หรือผิดปกติลวง เรียกว่า ผลลบลวง
ทั้งผลบวกลวงและผลลบลวงก็คือ โอกาสที่การตรวจคัดกรองนั้นจะไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การตรวจเอกซเรย์ปอดแล้วเจอจุด 1 ซม. จุดเดียวซึ่งอาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้
แต่ผู้ป่วยเมื่อทราบก็วิตกกังวลหมอก็กังวลเช่นเดียวกัน และอาจแนะนำให้ผู้ป่วยเจาะดูดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งแน่นอนผู้ป่วยต้องเจ็บตัวและผลที่ได้ก็คือ ผู้ป่วยอาจไม่เป็นมะเร็ง
เป็นเนื้องอกธรรมดาแต่เจ็บตัวไปแล้วเป็นต้น เช่นเดียวกันผลลบลวง เช่น จริงๆ มีก้อนในปอด 1 ซม. ซ่อนอยู่หลังหัวใจแต่เอกซเรย์ปอดธรรมดาไม่เห็นก้อน (เงาหัวใจบังอยู่)
ก็ทำให้แพทย์รายงานผลว่าเอกซเรย์ปอดปกติต่อมาก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นมะเร็งแต่ผู้ป่วยวางใจแต่ต้นว่าเอกซเรย์ปอดปกติ จึงทำให้รักษาล่าช้าไป เป็นต้น
โดยสรุป การตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือโรคต่างๆ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยแต่ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจถ้าจะต้องแนะนำให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยต้องตรวจ
คัดกรองโรคต่างๆ อาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากเกินไป แพทย์ที่ตรวจหรือโรงพยาบาลจะต้องชี้แจงข้อจำกัดของการตรวจนั้นให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าอาจเกิดผลบวกลวง
หรือผลลบลวงได้และเมื่อผู้ได้รับการตรวจเกิดอาการผิดปกติก็ต้องอย่าวางใจ ผลการตรวจสุขภาพจำเป็นที่ต้องไปตรวจเพิ่มเติม