ควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม?
ผู้หญิงที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีอุบัติการของการเกิดมะเร็งในชีวิตผู้นั้นสูงกว่าคนปกติ 2 ถึง 5 เท่า เช่น แม่เป็นมะเร็งเต้านม ลูกสาวจะมีโอกาสเป็นประมาณ 2 เท่า อุบัติการนี้สูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า ถ้าหากพี่สาวหรือน้องสาวเป็น และในครอบครัวที่มีทั้งแม่และพี่สาวหรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านมอุบัติการ ผู้นั้นจะสูงถึง 5.6 เท่า นอกลูกสาวจะมีโอกาสจากนี้ในตัวผู้ป่วยเองซึ่ง เป็นมะเร็ง เต้านมข้างหนึ่ง และได้รับการรักษาแล้วจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่งได้ในอัตรา 0.5% ถึง 1% ต่อปี
ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือตัวผู้ป่วยเอง ควรจะเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเต้านมขึ้นกับตัวเอง และวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การตรวจมะเร็งใน ระยะแรกเริ่มมีหลักฐานจากการศึกษาพบว่า การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกเริ่มสามารถลดอัตราตายจากมะเร็งเต้านมได้
การตรวจมะเร็งในระยะแรกเริ่มทำได้ 3 วิธี คือ
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรตรวจอย่างสม่ำเสมอ และทำให้เป็นนิสัย เช่น ตรวจเวลาเปลี่ยนเสื้อผ้า หรืออาบน้ำ ในผู้ที่ยังมีประจำเดือนควรตรวจในสัปดาห์ หลังหมดประจำเดือนของเดือนนั้น ส่วนในผู้ที่ประจำเดือนหมดแล้ว ควรจะตรวจ ในวันแรกของทุกๆ เดือน พบแพทย์ทันทีถ้าหากท่านพบก้อนในเต้านม หัวนมบุ๋ม ผิวหนังของเต้านมหนาขึ้นหรือบุ๋ม มีสารเหลวออกจากหัวนม หรือขนาดของเต้านมเปลี่ยนไป เป็นต้น
- พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี อาจตรวจทุกๆ 3 ปี ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจทุกๆ ปี
- การตรวจเอกซเรย์เต้านม (แมมโมแกรม) เป็นการตรวจที่สำคัญเพราะสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่ได้ หรือไม่มีอาการ แต่การตรวจนี้ ไม่สามารถใช้แทนการตรวจด้วยตัวเอง หรือการตรวจจากแพทย์ เพราะไม่มีการตรวจวินิจฉัยชนิดใดๆ ที่จะให้ผล 100% ควรจะทำแมมโมแกรมครั้งแรกในช่วง อายุ 35-39 ปี เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับใช้เปรียบเทียบในการทำครั้งต่อๆ ไป ในช่วงอายุ 40-49 ปี ควรตรวจทุกๆ 1 หรือ 2 ปี ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกๆ ปี นอกจากนี้ควรลดอาหารประเภทไขมัน อาหารหมักดอง อาหารรมควัน ลดปริมาณสุราที่ดื่ม รับประทานผัก ผลไม้ มากขึ้น และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ